วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนะนำ Acid-Base Project ม.๕ ครับ

การประยุกต์การไทเทรตกรด- เบสเพื่อหาปริมาณสารในชีวิตประจำวัน
การไทเทรตกรด- เบส
ใช้ประยุกต์หาปริมาณสารที่เป็นสารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ และสารชีวโมเลกุลได้
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้
ได้แก่ การหาปริมาณกรดอ่อนในน้ำส้ม น้ำมะนาว และในไวน์ การหาปริมาณเบส Mg(OH)2 , MgO ในยาลดกรด หรือการหาปริมาณโปรตีนในอาหาร
  • การหาปริมาณกรดอ่อนในน้ำส้ม
    ทำได้โดยการปิเปตต์น้ำส้มเจือจางด้วยน้ำกลั่นประมาณ 5 เท่า แล้วไทเทรตกับสารละลายมาตรฐาน NaOH เข้มข้น 0.1000 M โดยใช้ฟีนอล์ฟทาลีนเป็นอินดิเคเตอร์ ไทเทรตจนสารละลายเปลี่ยนจากไม่มีสีเป็นสีชมพูแล้วคำนวณหาร้อยละของกรดแอซิติก (CH3COOH) โดยมวลต่อปริมาตร
  • การหาปริมาตรกรดอ่อนในมะนาวและในไวน์
    ก็ทำได้โดยวิธีเดียวกับการหาปริมาณกรดแอซิติกในน้ำส้ม การรายงานผล จะรายงานเป็นร้อยละของกรดแอซิติก( ในน้ำมะนาว) และกรดทาร์ทาริก ( ในไวน์)
  • การหาปริมาณ Mg(OH)2
  •  ก็ทำได้โดยการไทเทรตกับสารละลายมาตรฐานโดยตรง เช่น ไทเทรตกับกรด HCl สำหรับการหาปริมาณ MgO จะต้องเปลี่ยนให้เป็น Mg(OH)2 โดยการใช้เบส แล้วค่อยไทเทรตกับสารละลายกรดมาตรฐาน
  • การหาปริมาณโปรตีนในอาหาร
    ต้องใช้วิธีทางอ้อมในการวิเคราะห์ โดยการหาปริมาณไนโตรเจนที่อยู่ในเอมีน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนในโปรตีน
      การหาปริมาณไนโตรเจนนี้ทำได้โดยการเปลี่ยนไนโตรเจนให้อยู่ในรูปของ NH3 แล้วไทเทรตกับสารละลายมาตรฐาน

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สำหรับ ม.5/1 แบบฝึกหัดประกอบเทปวิชาเคมี

ด่วน !!! ช่วงเวลาวันที่ 7 - 19 พ.ย.2553 นับได้สองสัปดาห์เต็ม ครูมีภาระกิจติดตามท่านผู้จัดการไปตรวจเยี่ยมโรงเรียนปลายทางทางภาคเหนือ(ติดตามได้หลังข่าวพระราชสำนัก) ในการนี้ครูจะดำเนินรายงานถ่ายทอดสดกลับมายังโรงเรียนเราด้วย ระหว่างนี้ครูไม่ได้ออกอากาศสด แต่ได้บันทึกเทป รายการเรื่องการเฉลยแบบฝึกหัดที่ 8.6 8.7 8.8 และแบบฝึกหัดท้ายบทตามลำดับ ขอให้นักเรียนม. 5/1 ที่รักของครูทุกคน ดาวน์โหลดเอกสารต่อไปนี้ เพื่อนำไปประกอบการเรียนตามที่ครูแจ้ง เอกสารเป็นใบงานมีโจทย์ให้แล้ว นักเรียนสามารถเขียนตอบในแต่ละข้อได้เลย และนำส่งครูหลังจากกลับมา ในวันที่ 22 พ.ย. 53 นี้
>>ดาวน์โหลดเอกสารแบบฝึกหัด
จากนั้นทำปกเขียนชื่อ-นามสกุล เฉยแบบฝึกหัดทุกข้อด้วยตนเอง ส่งตามแจ้งนะครับลูก

สำหรับ ม.4/1 แบบทดสอบเรื่องโมลครับ

ด่วน !!!! ให้นักเรียนดาวน์โหลด แล้วทำตามตัวอย่างที่ครูทำให้ดูบางข้อนะครับ อยากให้เขียนด้วยลายมือครับ ให้สวยงามแล้วนำส่งวันอังคารที่ 30 พ.ย. 53 นี้นะครับ หากสงสัยให้เขียนถามในหน้านี้เลยครับ
>>แบบทดสอบเรื่องโมล

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แบบฝึกหัด 4.3 - 4.4 -4.5 ครับ

แบบฝึกหัดที่ 4.3
1. จงคำนวณหาจำนวนโมลของสารต่อไปนี้
                ก. ฮีเลียม 1.024 x 1022 atom
                ข. แก๊สแอมโมเนีย 3.01 x 1025  โมเลกุล
                ค. เหล็ก 3.612 x 1020 atom
                ง. กำมะถัน 1  atom
                จ. โพแทสเซียมไอออน 100 ion
2. จงคำนวณหาจำนวนอนุภาคของสารต่อไปนี้
                ก. อาร์กอน 3.00 mol
                ข. เหล็ก 8.50 mol
                ค. โซเดียมไอออน 0.001 mol
                ง. น้ำ 5.00 mol
                จ. ไนเตรตไอออน 1.0 x 10-5 mol

แบบฝึกหัดที่  4.4

ข้อ 1 จงคำนวณหาจำนวนโมล และมวลของสารต่อไปนี้
ก. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 18.06 x 1023 molecule
ข. โพแทสเซียมไอออน 1.505 x 1023 molecule
ค. ฟอสฟอรัส 0.602 x 1023 ion
ง. ตะกั่ว 1 atom
ข้อ 2 จงคำนวณหาจำนวนโมล และมวลของสารที่กำหนดให้ต่อไปนี้
ก. อะลูมิเนียม  2.70 g
ข. น้ำ(H2O) 0.36 g
ค. เลด(II)ไนเตรต(Pb(NO3)2 82.75 g
ง. ดีบุก 17.5 g
ข้อ 3 สารต่อไปนี้มีจำนวนอนุภาคเท่าใด
ก. โซเดียมไอออน (Na+)  0.6  mol
ข. เฮกเซน  (C6H14)   43  g
ค. คาร์บอน  4  g
ง. แก๊สไนโตรเจนมอนอกไซด์ (NO)  30  g
ข้อ 4 ไฮโดรเจนซัลไฟด์  1 โมเลกุล ประกอบด้วย  H 2 อะตอม และ S  1 อะตอม ถ้ามีไฮโดรเจนซัลไฟด์  0.4  โมล  จงหา
ก.      มวลของไฮโดรเจนซัลไฟด์
ข.      มวลของ  และ  S
ค.      จำนวนโมเลกุลของไฮดดรเจนซัลไฟด์
ง.      จำนวนอะตอมของ  H และ S
ข้อ 5 กรดซัลฟิวริก 9.8 g แก๊สไฮโดรเจน 2 g  และแก๊สไฮโดรเจนคลอไรด์  36.5 g สารใดมีจำนวนโมเลกุลน้อยที่สุด
ข้อ 6 จงคำนวณหาจำนวนโมลและมวลของสารประกอบชนิดหนึ่งที่มี    3.01 x 1023  โมเลกุล สสารประกอบนี้   1 โมเลกุล ประกอบด้วย H 1 อะตอม             N  1 อะตอมและ  O  3  อะตอม
ข้อ 7 สารต่อไปนี้  มีมวลเท่าใด
ก.      แก๊สไฮโดรเจน 16 x 6.02 x 1023 molecule
ข.      ไอน้ำ  1.505 x 1023    molecule
ค.      แก๊สออกซิเจน 6.02 x 1023    molecule


แบบฝึกหัด 4.5 

1. จงหาจำนวนโมลของสารต่อไปนี้
. น้ำ(H2O) 100 molecule
ข. เหล็ก(Fe) 500 g
ค. ออกซิเจน(O2) 150 molecule
. แอสไพริน(C9H8O4) 500 mg
จ. คาร์บอนไดออกไซด์(CO2)ปริมาตร 5.6 dm3ที่ STP
2. จงหาจำนวนโมล จำนวนโมเลกุล และปริมาตรที่ STP ของสารต่อไปนี้ ซึ่งมีมวล 10.0 g
            . แก๊สโอโซน(O3)
            ข. แก๊สคลอรีน(Cl2)
            ค. แก๊สแอมโมเนีย(NH3)
3. แอซีโตน 1 โมเลกุลประกอบด้วย C 3 อะตอม H 6 อะตอม และ O 1 อะตอม ถ้ามีแอซีโตน 1.74 g จงคำนวณ
            ก. จำนวนโมเลกุลของแอซีโตน
            ข. จำนวนโมลของแต่ละธาตุ
ค.จำนวนอะตอมของแต่ละธาตุและจำนวนอะตอมรวม
ง.มวลของแต่ละธาตุ 
จ. ปริมาตรของไอของแอซีโตน
4. แก๊สออกซิเจน 48.0 g มีกี่อะตอมและมีปริมาตรเท่าใดที่ STP
5. จงปริมาตรที่ STP ของแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์(H2S) ซึ่งมีปริมาณดังต่อไปนี้
            ก. 1.0 mol                  
            ข. 17.05 g   
            . 1.20 x1024 molecule
6. จงหามวล 1 โมลของแก๊สชนิดหนึ่งมีมวล 0.74 g และมีปริมาตร 340 cm3 ที่ STP

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ผลโหวต"เทอมใหม่นี้ อยากได้อะไร"

เทอมใหม่นี้ อยากได้อะไร
ปรับปรุงตัวเองใหม่
  7 (43%)
 
มือถือดีๆ ซักเครื่อง
  0 (0%)
เกรด ๔
  8 (50%)
 
อะไรก็ได้
  1 (6%)
 

การลงคะแนนถึงปัจจุบัน: 16
ปิดแบบสำรวจแล้ว
สรุปคือ 
มีคนเข้าใจตนเองว่าจะทำอะไรต่อไป 43 % คนฝันเฟื่อง 50 % คนเรื่อยเปื่อย 1% ส่วนคนไร้สาระไม่มี ดีเนอะ คนฝันเฟื่องเยอะกว่าคนที่อยู่กับความเป็นจริงจ๊ะ ใช่ลูกหรือเปล่า

ศึกษาดูงานสิงคโปร์

เฉลยโจทย์เสริมประสบการณ์เรื่องการหามวลโมเลกุลครับ

เฉลย Practice Problems สำหรับ ม.๔ ครับ

1. 133.34                 2. 203.59                 3. 239.26                 4. 143.09
5. 234.77                 6. 44.01                     7. 273.20         8. 560.98
9. 441.89                  10. 238.59             11. 74.55                 12. 58.10 
13. 81.38                 14. 255.26       15. 110.26             16. 53.49 
17. 136.08       18. 122.97             19. 304.23             20. 106.87   
21. 68.14                  22. 129.84       23. 158.03       24. 136.14
25. 62.02                 26. 44.01                  27. 7.95                     28.     28.01
29. 626.31             30. 56.106       31. 94.20                 32. 98.07 
33. 629.78              34. 104.08       35. 35.046             36. 108.01
37. 234.68       38. 101.96             39. 123.555     40. 560.988   
41. 472.09       42. 344.1666      43. 383.788         44. 154.99
45. 226.09       46. 119.977     47. 149.087         48. 258.195
49. 497.24       50. 342.136     51. 150.82       52. 158.169    
53. 266.69       54. 141.944         55. 80.04                56. 171.34     
 57. 303.26       58. 601.93       59. 82.03                 60. 171.34
61. 84.007       62. 78.00                 63. 136.97       64. 159.69 
65. 100.09       66. 36.461       67. 174.25             68. 58.443                    
69. 133.846     70. 417.179          71. 20.006             72. 162.206     
73. 120.055     74. 231.74       75. 342.10      76. 115.928
77. 204.12       78. 484.173        79. 292.246     80. 164.248

วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การไทรเทรตกรด-เบสสำหรับพี่ ม.๕

Titratio
การวิเคราะห์การไตเตรทของกรด-เบส

นักเรียน ม.๕ เข้าไปดูวิธีการไทรเทรตในเว็บนี้นะครับ
http://www.blackgold.ab.ca/ict/Division4/Science/Div.%204/Titration%20of%20Vinegar/vinegartitration.htm

ทำการทดลองจำลองการไทเทรตกรดกับเบสที่ต้องการตามลิงค์นี้นะครับ
http://faculty.concordia.ca/bird/java/Titration/Titration_demo.html
หรืออันนี้ดีมากเลยครับ ลองทำดู
http://www.mhhe.com/physsci/chemistry/animations/chang_7e_esp/crm3s5_5.swf


(ให้นักเรียน 5/1 ทุกคน เลือกคู่กรด - เบสแล้วทำการทดลอง จากนั้นให้เขียนรายงานการทดลองส่งครูด้วยนะครับ งานเดี่ยว)

อีกอันหนึ่ง...ให้นักเรียนม.๕ เข้าชมการทดลองเรื่องการไทรเทรตต่อไปนี้แล้ว เขียนรายงานสรุปความรู้ที่ได้รับส่งครูด้วยนะครับ
http://www.edltv.thai.net/index.php?mod=Courses&file=showcontent&cid=566&lid=130460&lid_parent=130481&plid=130487&sid=506

วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ครูกลับมาแล้วจ้า

หายไปสิงคโปร์ ๓ วัน ก็กลับมารอนักเรียนที่รักอยู่ในห้องนี้จ้า

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การบ้านเคมีออนไลน์ชุดที่ 1 เรื่องมวลโมเลกุลครับ

นักเรียนดาวน์โหลดโดยคลิกที่นี่เลยครับ
https://sites.google.com/site/surapongclub/baeb-fuk-kar-ha-mwl-molekul-khxng-sar
แล้วนำส่งตามกำหนดนะครับ
วิธีทำก็ตามตัวอย่างนี้ครับ

ให้นักเรียนของครู แสดงการหามวลโมเลกุลจากสารที่กำหนดให้นะครับ
ยกตัวอย่างเช่น
1. AlCl3 มีมวลโมเลกุล = 27 + 3(35.5) = 133.5 #
เขียนด้วยลายมือตามนี้เลยนะครับ เสร็จแล้วก็นำส่งที่โต๊ะครูนะครับ
อาทิตย์หน้าครูก็จะเฉลยให้ดู

วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

นักเรียนที่รัก รู้หรือไม่ว่า

ถ้าเราไม่ได้ดูข้อสอบเอ็นฯ ย้อนหลังไปสิบปี อย่าคิดเอ็นทรานซ์ หรือแอดมิดชัน เชิญชวนให้ชมวีดีโอของติวเตอร์เหล่านี้เลยครับ นับ 100 ชั่วโมง ฟรีๆ ครับ ไม่ต้องเสียเงินไปติวถึงกทม. แต่ขอเวลานักเรียนวันละ 1 ชั่วโมงจากนี้ไปนะครับ...อย่าลืมเรื่องอนาคตตนเองนะจ๊ะ ด้วยรักและเป็นห่วงลูกๆ ทุกคน ชมเคมีครูอุ๊ สำหรับม.5 ทบทวนเรื่องเลขออกซิเดชั่นนะครับ
http://learn-pre-en.blogspot.com/2010/07/1_12.html

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

นักเรียนที่เข้ามาช่วยลงชื่อด้านล่างครับ

ใครสมัครเข้ามาได้แล้ว ขอให้แสดงตัวตน ชื่อจริงนามสกุลจริงนะครับ จะมีรางวัลให้
คลิกตรง ความคิดเห็น นะครับแล้วก็พิมพ์ชื่อลงไป การถามหรือคอมเมนต์ก็ตรงนี้นะครับ

แนะนำสื่อ สุดยอดห้องทดลองเคมีเสมือนจริง

ครูขอแนะนำ
การทดลองเคมีเสมือนจริง Virtual Chemistry laboratory
พัฒนาโดย อาจารย์ชัยวัฒน์ เขื้อมั่่ง  อาจารย์จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ครับ
http://www.mwit.ac.th/~chaiwat/example_1.html

ใครอินเทอร์เน็ตเร็วๆ ก็ชมวิดีโอติวเตอร์จากอาจารย์ดังๆ นับเป็นร้อยๆ เรื่องครับ ตามนี้ไปก่อนนะลูก

http://learn-pre-en.blogspot.com/2009/10/o-net-49.html

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนะนำเว็บช่วยสอนเรื่องปริมาณสารสัมพันธ์ครับ

วิธีที่ง่ายที่สุดตอนนี้ คือเข้าไปศึกษาเว็บดีๆ ที่ผู้อื่นได้สร้างไว้นะครับ ม.4 ทุกคนลองทดสอบตนเองครับ
เว็บแนะนำวันนี้ ของโรงเรียนเลยวิยาคม จ.เลยครับ http://www.loeipit.ac.th/chaiya/main.htm

ยินดีต้อนรับลูกศิษย์ที่รักทุกคน

ครูสุรพงศ์  นามนัย (ครูหนุ่ย)ได้เปิดบล็อกแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาเคมีขึ้น ในนามของ http://chemkrunui.blogspot.com (เคมครูหนุ่ย) ขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนะนำเทคนิคการเรียนเคมีแบบที่นักเรียนอยากให้เป็น ขอเชิญชวนนักเรียนของครูทั้งต้นทางปลายทางสมัครเข้ามาเป็นสมาชิก แล้วก็แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ จำกันไว้ให้ดีนะครับ การเรียนรู้เป็นเรื่องที่ยิ่งให้ยิงแบ่งปัน ผู้ให้ผู้แบ่งปันยิ่งได้ความรู้มากขึ่น เรียนว่า "ยิ่งให้ยิ่งได้" นักเรียนของครู ม.4/1 , 5/1 ทุกคนควรแสดงตัวนะครับ ไม่บังคับแต่อยากให้มีส่วนร่วมทุกคน นักเรียนปลายทางที่ทราบข่าวก็เชิญชวนนะครับ ตอนนี้อินเทอร์เน็ต รวดเร็วทันใจ ก็ขอให้ใช้ให้เกิดประโยชน์ ครูอยากบอกว่าครูขอเวลานักเรียนคนละครึ่งชั่วโมง มาอ่านเคล็ดลับเคมีที่ครูนำเสนอ ขอแบ่งเวลาจากการโทรฯ การเล่นเอ็ม เล่นเกมในแต่ละวันนะครับ หรืออาจแนะนำตัวผ่านหน้า facebook ตัวเองด้วยก็ไม่ว่านะครับ